ประเภท

ประเภทของหลักสูตร
                    หลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา (subject matter curriculum or subject centerea curriculum)
                    หลักสูตรหมวดวิชา (Fusin or fused curriculum)
                    หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlation or correlated curriculum)
                    หลักสูตรสหสัมพันธ์หมวดวิชาแบบกว้าง (broad fields curriculum)
                    หลักสูตรแบบแกนกลาง หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน (core curriculum)
                    หลักสูตรประสบการณ์ (experience curriculum)
หลักสูตรแบบบูรณาการ (integration or  integrated curriculum)
1.หลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา (subject matter curriculum or subject centerea curriculum)
                ความคิดรวบยอดของหลักสูตรในรูปของเนื้อหาวิชาจะเน้นเนื้อหาสาระเป็นหลัก โดยเฉพาะความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เนื้อหาสาระของหลักสูตรจะถูกกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้ในเนื้อหาสาระวิชานั้นๆอย่างกว้าง แล้วพยายามแยกแยะออกเป็นส่วนย่อยๆเพื่อความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน
                ถึงแม้จะมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาจุดยืนของหลักสูตรอย่างกว้างขวางมากว่าครึ่งศตวรรษแล้วก็ตาม ความคิดรวบยอดของหลักสูตรในรูปแบบของเนื้อหาวิชาก็ยังเป็นความคิดพื้นถานของการสร้างรูปแบบของหลักสูตรอยู่(Saylor and Alexander) บัวแซ็มพ์ (Beauchamp) เขียนหนังสือทฤษฏีหลักสูตร” เมื่อปี1968 ก็ยังยืนยันว่าสิ่งที่เป็นพื้นฐานทั่วๆไปของหลักสูตรนั้น คือข้อสังเขปรายวิชาเนื้อหาที่จะสอนในโรงเรียน เช่นสาขาวิชาต่างๆที่เกี่ยวกับปัญหาการดำรงชีวิตหรือรูปแบต่างๆที่กำหนดขึ้นมาซึ่งไม่ว่าจะดำเนินการในรูปแบบใดๆก็ตามเนื้อหาวชาจะเป็นแกนสำคัญของหลักสูตร
2. หลักสูตรหมวดวิชา(Fusion or Fued Curriculum)
หลักสูตรเนื้อหาวิชาของไทยนั้นแยกออกเป็นรายวิชาย่อยๆ เช่น วิชาภาษาไทย จะประกอบด้วยรายวิชาย่อยๆคือ คัดไทย เขียนไทย ย่อไทย เป็นต้น หลักสูตรเนื้อหาวิชาจึงได้รับการพัฒนามาเป็นหลักสูตรหมวดวิชาโดยการรวมวิชาย่อยๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันผสมผสานในด้านเนื้อหาเข้าเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เกิดการผสมกลมกลืนของเนื้อหา และเพื่อสะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน ตลอดทั้งการประเมินผลด้วย
3. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlation or Correlated Curriculum)
หลักสูตรสัมพันธ์คือ หลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชาหรือระหว่างวิชา เนื่องจากหลักสูตรหมวดวิชานั้นมีขอบเขตของเนื้อหาอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในด้านเนื้อหาประการหนึ่งและทำให้ขาดความสัมพันธ์ในเนื้อหาที่ต่างหมวดวิชากัน ด้วยเหตุนี้นักพัฒนาหลักสูตรจึงคิดหารูปแบบของหลักสูตรชนิดที่จะทำให้วิชาแต่ละวิชาและหมวดวิชาแต่ละหมวดมีความสัมพันธ์สอดคล้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยไม่ขาดตอน หลักสูตรรูปแบบนี้รูปแบบนี้ เรียกว่า หลักสูตรสัมพันธ์
4.หลักสูตรสหสัมพันธ์หมวดวิชาแบบกว้าง (broad fidlds curriiculum)
                หลักสูตรสหสัมพันธ์หมวดวิชาแบบกว้างนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาการหลักสูตร หมวดวิชา แต่ละลักษณะของหลักสูตรสหสัมพันธ์นี้จะมีลักษณะกว้างขวางมากกว่า โดยยึดหลักการสัมพันธ์หรือความใกล้เคียงของเนื้อหาและจุดมุ่งหมายรวมเป็นหมวดวิชาใหญ่ เช่น หมวดวิชาภาษา จะรวมเอาภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเข้าด้วยกัน แต่รายละเอียดของหมวดภาษาก็จะประกอบด้วย วรรณคดี การอ่าน การสื่อสาร การใช้ภาษา หลักภาษา การวิเคราะห์ภาษา การสะกดคำ การคัดลายมือ หลักสูตรสหสัมพันธ์ยังนิยมใช้กันอยู่ เพราะมีการผสมผสานของความรู้มากกว่า และการจัดหมวดวิชาเป็นสหสัมพันธ์ หรือหมวดวิชาแบบกว้างนี้ก็มักจะทำกันในโรงเรียนระดับประถม และระดับมัธยมต้นมากกว่าระดับมัธยมปลาย
5.หลักสูตรแบบแกนกลาง หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน (core curriculum)
                หลักสูตรแกนกลางมีลักษณะคล้ายกับหลักสูตรวิชา หลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผสมผสานเนื้อหาวิชาต่างๆที่ใกล้เคียงเข้าอยู่เป็นหมวดหมู่เดียวกัน แต่เน้นวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นปัญหาของส่วนบุคคลหรือส่วนรวมก็ได้ เมื่อกระบวนการเรียนการสอนเน้นการแก้ปัญหาเป็นหลักดังกล่าวแล้ว เวลาเรียนแทนที่จะใช้เพียงคาบละ 50 หรือ 55 นาทีก็ต้องใช้เวลาเป็น 2 หรือ 3 ชั่วโมง ติดต่อกัน นอกจากกระบวนการแก้ปัญหาและเวลาเรียนแล้วบทบาทของครูก็จะเปลี่ยนไปเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาทั้งเป็นรายบุคคลหรือรายหมู่ นักเรียนจะมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาโดยตรง
6.หลักสูตรประสบการณ์ (experience curriculum)
                หลักสูตรประสบการณ์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเนื่องจากนักศึกษามีความเชื่อว่า นักเรียนควรเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือประสบการณ์ใดๆก็ตาม ต้องจัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเจริญงอกงามในทุกๆด้านและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการดำรงชีวิต หลักสูตรประสบการณ์จำเป็นต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการเลือกหากิจกรรมการเรียนที่มีประโยชน์และตรงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และลักษณะการร่วมกิจกรรมนั้นต้องอยู่บนรากฐานของความถนัดและความสนใจของนักเรียน หลักสูตรประสบการณ์มีลักษณะตรงกันข้ามกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาอย่างเห็นได้ชัด เพราะหลักสูตรเนื้อหาวิชายึดเนื้อหาวิชาเป็นจุดศูนย์กลาง แต่หลักสูตรประสบการณ์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูต้องเป็นทั้งนักวางแผน นักจิตวิทยา นักแนะแนวและนักพัฒนาการ
7.หลักสูตรแบบบูรณาการ (intergrated curriculum)
                หลักสูตรแบบบูรณาการเป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆเข้าด้วยกัน ประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชา แล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์ เป็นการบูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่อง มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. พิมพ์ครั้งที่ 3. (กรุงเทพมหานคร:
       อักษรเจริญทัศน์, 2530), หน้า860.