บทนำ

บทนำ
การพัฒนาคุณภาพนักเรียนถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือว่าเป็นระดับการศึกษาพื้นฐานที่จำเป็น ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาหลักวิชาการ อันจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และนำไปเป็นพื้นฐานการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย คือให้นักเรียน มีความรู้ คู่คุณธรรม ควบคู่กับความสามารถของนักเรียน ให้มีความเก่งดี มีสุข สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ถือเป็นภารกิจของสถานศึกษาทุกระบบ ที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว แต่การจะทำสำเร็จหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกฝ่าย อันได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องร่วมกันทำภายใต้กรอบของการพัฒนา คือ หลักสูตร
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดเป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีศักยภาพในการแข่งขันเวทีระดับชาติและเวทีโลก พร้อมกันนี้ได้รับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่มุ่งเน้นกระจายอำนาจทางการศึกษา ให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น และจากการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ผลการวิจัย เรื่องการใช้หลักสูตร พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 มีจุดที่น่าพึงพอใจหลายประการ เช่น ช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษา ทำให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น มีแนวคิดหลักการในการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่เป็นปัญหาความไม่ชัดเจนของหลักสูตรหลายประการ ทั้งในส่วนของเอกสารหลักสูตร การนำไปใช้สู่การปฏิบัติและผลผลิตที่เกิดจากการใช้หลักสูตร ประกอบกับ ข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เกี่ยวกับแนวทางพัฒนาคนในสังคมไทยและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนา เยาวชนจึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ที่มีความเหมาะสมชัดเจน ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับเขตพื้นที่และสถานศึกษา
ดังนั้น ในการบริหารหรือการนำหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียน ไม่ว่าจะใช้โดยผู้บริหารหรือผู้ที่ได้นับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลการดำเนินงานทางวิชาการของโรงเรียน หรือโดยครูผู้สอนก็ตามนั้น ความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตร เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการกำหนดการทำงานทางการศึกษาและต่อการกำกับบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงระบบการทำงานของโรงเรียน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนมีผลต่อคุณภาพด้านการเรียนการสอนของโรงเรียน ความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรนั้น เป็นสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนโดยตรง

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจะนะ ชนูปถัมภ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้เรียนรู้แนวทางในการพัฒนาหลักสูตร
2.สมารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
3.เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
4.สามารถพัฒนาหลักสูตรได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายและความต้องการของผู้เรียน
5.ทำให้ผู้เรียนมีขอบเขตการศึกษาที่ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร